Introduction to Java Database Connectivity (JDBC) การติดต่อฐานข้อมูล JDBC - ODBC
JDBC คือ API (Application Programming Interface) หรือ library ในจาวาที่ใช้สำหรับติดต่อกับฐานข้อมูลที่เป็นแบบ relational อย่างเช่น MS SQL, Oracle, MySQL, DB2, Informix เป็นต้น JDBC จะช่วยให้เราสามารถเพิ่ม แก้ไข ลบ หรือเรียกดูข้อมูลที่เก็บไว้ในฐานข้อมูลจากโปรแกรมจาวาที่เราเขียนขึ้นได้
สังเกตว่า JDBC จะเป็น API ที่ช่วยให้เราสามารถใช้งานฐานข้อมูลแบบ relational ได้ โดยลักษณะการเพิ่ม แก้ไข ลบ หรือเรียกดูข้อมูลจากฐานข้อมูลนั้นจะมีแนวคิดเป็นแบบ relational ด้วยเช่นกัน คือมองข้อมูลเป็น แถวและตาราง จะเห็นว่าแนวคิดแบบนี้จะไม่เหมือนกับแนวคิดที่เราใช้ในการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุที่เรามองข้อมูลหรือสิ่งต่าง ๆ เป็นวัตถุ นี่ทำให้เกิดความแตกต่างในแนวคิดของการมองข้อมูล JDBC ยังมองข้อมูลเป็น ตารางและแถว ในขณะที่โปรแกรมจาวาจัดการข้อมูลเป็นแบบวัตถุ
ด้วยเหตุนี้เอง จึงมีความพยายามที่จะลดความแตกต่างของแนวคิดที่ใช้ในการมองข้อมูล แทนที่เราจะใช้ JDBC ในการติดต่อกับฐานข้อมูลโดยตรง เราก็ใช้ software ที่ทำหน้าที่เป็น object-relational mapping คือเปลี่ยนข้อมูลจากที่อยู่ในรูปของ ตารางและแถวให้อยู่ในรูปของวัตถุ เวลาเราใช้งานฐานข้อมูลแบบ relational เราก็ไม่จำเป็นต้องมองข้อมูลเป็นแบบตารางและแถวอีกต่อไป เราสามารถมองข้อมูลและจัดการข้อมูลเหล่านั้นในรูปของ objects ได้เลย ทำให้สะดวกในการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุมากขึ้น object-relational mapping ที่หลายคนนิยมใช้กันก็คือ Hibernate Hibernate จะทำหน้าที่ติดต่อกับฐานข้อมูลที่เป็นแบบ relational แล้วเปลี่ยนข้อมูลเหล่านั้นให้อยู่ในรูปของ objects ที่โปรแกรมของเราสามารถนำไปใช้ได้ง่าย
การติดต่อกับฐานข้อมูล
ผู้ผลิต DB จะสร้าง driver สำหรับติดต่อฐานข้อมูล โดยที่ driver จะแปลคำสั่งจาก JDBC ให้เป็นคำสั่งสำหรับเข้าใช้งาน DB ส่วนโปรแกรมจาวาจะส่ง sql ไปที่ JDBC แล้ว JDBC จะเปลี่ยนคำสั่งนั้นให้เป็นคำสั่งสำหรับ driver
สังเกตว่า JDBC จะเป็น API ที่ช่วยให้เราสามารถใช้งานฐานข้อมูลแบบ relational ได้ โดยลักษณะการเพิ่ม แก้ไข ลบ หรือเรียกดูข้อมูลจากฐานข้อมูลนั้นจะมีแนวคิดเป็นแบบ relational ด้วยเช่นกัน คือมองข้อมูลเป็น แถวและตาราง จะเห็นว่าแนวคิดแบบนี้จะไม่เหมือนกับแนวคิดที่เราใช้ในการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุที่เรามองข้อมูลหรือสิ่งต่าง ๆ เป็นวัตถุ นี่ทำให้เกิดความแตกต่างในแนวคิดของการมองข้อมูล JDBC ยังมองข้อมูลเป็น ตารางและแถว ในขณะที่โปรแกรมจาวาจัดการข้อมูลเป็นแบบวัตถุ
ด้วยเหตุนี้เอง จึงมีความพยายามที่จะลดความแตกต่างของแนวคิดที่ใช้ในการมองข้อมูล แทนที่เราจะใช้ JDBC ในการติดต่อกับฐานข้อมูลโดยตรง เราก็ใช้ software ที่ทำหน้าที่เป็น object-relational mapping คือเปลี่ยนข้อมูลจากที่อยู่ในรูปของ ตารางและแถวให้อยู่ในรูปของวัตถุ เวลาเราใช้งานฐานข้อมูลแบบ relational เราก็ไม่จำเป็นต้องมองข้อมูลเป็นแบบตารางและแถวอีกต่อไป เราสามารถมองข้อมูลและจัดการข้อมูลเหล่านั้นในรูปของ objects ได้เลย ทำให้สะดวกในการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุมากขึ้น object-relational mapping ที่หลายคนนิยมใช้กันก็คือ Hibernate Hibernate จะทำหน้าที่ติดต่อกับฐานข้อมูลที่เป็นแบบ relational แล้วเปลี่ยนข้อมูลเหล่านั้นให้อยู่ในรูปของ objects ที่โปรแกรมของเราสามารถนำไปใช้ได้ง่าย
การติดต่อกับฐานข้อมูล
การเริ่มต้นการติดต่อกับ MS Access
- จะต้องมีฐานข้อมูล
- สร้าง user DSN หรือ Data source
- ติดต่อด้วย Java Application
Reference : Wikipedia , การเขียนโปรแกรมเชิงเหตุการณ์ (อ.ปรัชญ์ สุขกวี), Introduction to Java Database Connectivity (JDBC) - Andrew Division
Comments
Post a Comment