ไลบรารี ซอร์สโค้ดก็แจกฟรีนี่? เอามาใช้ จะเดือดร้อนอะไร?
เดือนร้อนแน่นอนครับ ถ้าคุณยังไม่เข้าใจ
โมแล้วขาย ถ้าไม่เข้าใจพื้นฐาน ก็เป็นกรรมในอนาคตครับ จะโดนฟ้องได้
ปกติพวกไลบรารีซอฟต์แวร์ หรือพวกซอร์สโค้ด Open-Source ส่วนใหญ่ ร้อยล่ะ 75% (อ้างอิงจาก wikipedia) จะใช้ สัญญาอนุญาตจีพีแอล (GPL)
สำหรับคนในโลกทั่วไปก็คงคิดง่ายๆ ว่า อ้าว ก็แจกฟรีนี่? แล้วเราจะเอามายำ เอามาใช้ เอามาขายจะทำไมว่ะครับ
ตามสัญญา GPL การที่คุณเอาของเขาไปใช้ แล้วไม่เปิดเผยโค้ดต่อ คุณผิดนั่นเอง!!! ที่ผิด ไม่ใช่ที่คุณผิดเพราะไปดูดโค้ด หรือ ซอฟต์แวร์ เขามาใช้ แต่ผิดที่ การมีอิสรภาพในการเรียนรู้และพัฒนาต่อจะหายไปนั่นเอง
ในอดีต เคยมีกรณีที่ Wix App เอาโค้ด WordPress App ไปใช้ เลยต้องถูกบังคับให้เปิดโค้ด เพราะเป็น GPL โดย Matt Mullenweg ออกมาสรุปท้ายตอบ Wix ว่า
"(ในเมื่อคุณใช้โค้ดของ WordPress ก็) ขอให้เปิดโค้ดด้วยสัญญาอนุญาต GPL และเอา Source Code ของแอพคุณขึ้นไปไว้ที่ GitHub นะ - เพื่อเราจะได้ช่วยกันสร้าง, พัฒนา และเรียนรู้จากโค้ดเหล่านี้ด้วยกันได้" - Matt Mullenweg ศาสดาผู้สร้าง Wordpress
เลยมีคนถามว่า ถ้าต้องเปิดโค้ด ก็แปลว่าห้ามขายงั้นหรอ?
โนววว หยุด สต็อป อย่าเข้าใจผิด!!!!! การเปิดโค้ด กับการแจกฟรี เป็นคนละประเด็นกัน ในแวดวง Open Source มักเปรียบเทียบว่า คำว่า Free นี้ ไม่ใช่ของแจกฟรี (Free Beer) แต่หมายถึงอิสระภาพ (Freedom) ในการแก้ไขดัดแปลง
จุดประสงค์ของ Open Source คือ เมื่อไม่มีการเข้ารหัสซอฟต์แวร์ คนที่ซื้อหรือโหลดไปใช้ ก็จะได้แก้ไขดัดแปลงได้เต็มที่ โดย WordPress เลือกใช้สัญญาอนุญาตแบบ GPL ซึ่งบังคับว่า คุณเอาไปทำอะไรก็ได้ แต่ต้องเปิดโค้ดและใช้สัญญา GPL เช่นกัน
ยกตัวอย่าง ธีมเวิร์ดเพรส คุณจะเอาไปโมแล้วขายต่อก็ได้ แต่ธีมนั้นต้องเปิดโค้ดเช่นกัน ห้ามเข้ารหัส และคุณก็ต้องยอมให้คนอื่นโมธีมของคุณไปขายต่อได้เช่นกัน
แต่ทั้งนี้ บางธีมก็เลือกจะบอกว่า โค้ดเป็น GPL แต่รูป/ฟอนต์/CSS ไม่ใช่นะ ก็มี
หรือต่อให้ธีมบอกว่า ทุกอย่างเป็น GPL คุณแก้อะไรก็ได้ แต่ที่สุดแล้ว โลโก้/ชื่อแบรนด์ ก็ย่อมไม่ใช่ GPL เราจะเอาธีมไปโม/ไปขาย โดยใช้ชื่อต่างๆ เหล่านี้ไม่ได้นะครับ
และสุดท้าย ใครขาย คนนั้นก็ต้อง Support ดังนั้น การไปเอาธีมคนอื่นมาขายโดยไม่เข้าใจโค้ดทะลุปรุโปร่ง เวลามีปัญหาขึ้นมา อาจจะเรื่องใหญ่กว่าการเขียนธีมขายเองก็ได้ครับ :)
------------------------------------------------------------------------------------------------------
GNU General Public License, GNU GPL, GPL หรือ สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู
ลักษณะของสัญญาอนุญาตจีพีแอลมีลักษณะ "เสรี" (free) ที่หมายถึง เสรีภาพสำหรับผู้ใช้ซอฟต์แวร์สี่ประการดังนี้
1. เสรีภาพในการใช้งาน ไม่ว่าใช้สำหรับจุดประสงค์ใด
2. เสรีภาพในการศึกษาการทำงานของโปรแกรม และแก้ไขโค้ด การเข้าถึงซอร์สโค้ดจำเป็นสำหรับเสรีภาพข้อนี้ (โอเพนซอร์ซ)
3. เสรีภาพในการจำหน่ายแจกจ่ายโปรแกรม
4. เสรีภาพในการปรับปรุงและเปิดให้บุคคลทั่วไปใช้และพัฒนาต่อไป การเข้าถึงซอร์สโค้ดจำเป็นสำหรับเสรีภาพข้อนี้
** โดยมีเพียงเงื่อนไขว่า การนำไปใช้หรือนำไปพัฒนาต่อ จำเป็นต้องใช้สัญญาอนุญาตเดียวกัน **
อ้างอิง https://en.wikipedia.org/wiki/GNU , Menn Studio
โมแล้วขาย ถ้าไม่เข้าใจพื้นฐาน ก็เป็นกรรมในอนาคตครับ จะโดนฟ้องได้
สำหรับคนในโลกทั่วไปก็คงคิดง่ายๆ ว่า อ้าว ก็แจกฟรีนี่? แล้วเราจะเอามายำ เอามาใช้ เอามาขายจะทำไมว่ะครับ
ตามสัญญา GPL การที่คุณเอาของเขาไปใช้ แล้วไม่เปิดเผยโค้ดต่อ คุณผิดนั่นเอง!!! ที่ผิด ไม่ใช่ที่คุณผิดเพราะไปดูดโค้ด หรือ ซอฟต์แวร์ เขามาใช้ แต่ผิดที่ การมีอิสรภาพในการเรียนรู้และพัฒนาต่อจะหายไปนั่นเอง
ในอดีต เคยมีกรณีที่ Wix App เอาโค้ด WordPress App ไปใช้ เลยต้องถูกบังคับให้เปิดโค้ด เพราะเป็น GPL โดย Matt Mullenweg ออกมาสรุปท้ายตอบ Wix ว่า
Release your app under the GPL, and put the source code for your app up on GitHub so that we can all build on it, improve it, and learn from it. - Matt Mullenweg
"(ในเมื่อคุณใช้โค้ดของ WordPress ก็) ขอให้เปิดโค้ดด้วยสัญญาอนุญาต GPL และเอา Source Code ของแอพคุณขึ้นไปไว้ที่ GitHub นะ - เพื่อเราจะได้ช่วยกันสร้าง, พัฒนา และเรียนรู้จากโค้ดเหล่านี้ด้วยกันได้" - Matt Mullenweg ศาสดาผู้สร้าง Wordpress
เลยมีคนถามว่า ถ้าต้องเปิดโค้ด ก็แปลว่าห้ามขายงั้นหรอ?
โนววว หยุด สต็อป อย่าเข้าใจผิด!!!!! การเปิดโค้ด กับการแจกฟรี เป็นคนละประเด็นกัน ในแวดวง Open Source มักเปรียบเทียบว่า คำว่า Free นี้ ไม่ใช่ของแจกฟรี (Free Beer) แต่หมายถึงอิสระภาพ (Freedom) ในการแก้ไขดัดแปลง
จุดประสงค์ของ Open Source คือ เมื่อไม่มีการเข้ารหัสซอฟต์แวร์ คนที่ซื้อหรือโหลดไปใช้ ก็จะได้แก้ไขดัดแปลงได้เต็มที่ โดย WordPress เลือกใช้สัญญาอนุญาตแบบ GPL ซึ่งบังคับว่า คุณเอาไปทำอะไรก็ได้ แต่ต้องเปิดโค้ดและใช้สัญญา GPL เช่นกัน
ยกตัวอย่าง ธีมเวิร์ดเพรส คุณจะเอาไปโมแล้วขายต่อก็ได้ แต่ธีมนั้นต้องเปิดโค้ดเช่นกัน ห้ามเข้ารหัส และคุณก็ต้องยอมให้คนอื่นโมธีมของคุณไปขายต่อได้เช่นกัน
แต่ทั้งนี้ บางธีมก็เลือกจะบอกว่า โค้ดเป็น GPL แต่รูป/ฟอนต์/CSS ไม่ใช่นะ ก็มี
หรือต่อให้ธีมบอกว่า ทุกอย่างเป็น GPL คุณแก้อะไรก็ได้ แต่ที่สุดแล้ว โลโก้/ชื่อแบรนด์ ก็ย่อมไม่ใช่ GPL เราจะเอาธีมไปโม/ไปขาย โดยใช้ชื่อต่างๆ เหล่านี้ไม่ได้นะครับ
และสุดท้าย ใครขาย คนนั้นก็ต้อง Support ดังนั้น การไปเอาธีมคนอื่นมาขายโดยไม่เข้าใจโค้ดทะลุปรุโปร่ง เวลามีปัญหาขึ้นมา อาจจะเรื่องใหญ่กว่าการเขียนธีมขายเองก็ได้ครับ :)
------------------------------------------------------------------------------------------------------
GNU General Public License, GNU GPL, GPL หรือ สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู
ลักษณะของสัญญาอนุญาตจีพีแอลมีลักษณะ "เสรี" (free) ที่หมายถึง เสรีภาพสำหรับผู้ใช้ซอฟต์แวร์สี่ประการดังนี้
1. เสรีภาพในการใช้งาน ไม่ว่าใช้สำหรับจุดประสงค์ใด
2. เสรีภาพในการศึกษาการทำงานของโปรแกรม และแก้ไขโค้ด การเข้าถึงซอร์สโค้ดจำเป็นสำหรับเสรีภาพข้อนี้ (โอเพนซอร์ซ)
3. เสรีภาพในการจำหน่ายแจกจ่ายโปรแกรม
4. เสรีภาพในการปรับปรุงและเปิดให้บุคคลทั่วไปใช้และพัฒนาต่อไป การเข้าถึงซอร์สโค้ดจำเป็นสำหรับเสรีภาพข้อนี้
** โดยมีเพียงเงื่อนไขว่า การนำไปใช้หรือนำไปพัฒนาต่อ จำเป็นต้องใช้สัญญาอนุญาตเดียวกัน **
อ้างอิง https://en.wikipedia.org/wiki/GNU , Menn Studio
Comments
Post a Comment